การปกครองในประเทศอินโดนีเซีย


 การปกครองในประเทศอินโดนีเซีย

การปกครอง
          อินโดนีเซียมีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและ หัวหน้าฝ่ายบริหารรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2488 ได้กำหนดให้ใช้หลักปัญจศีลเป็นหลักในการปกครองประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการนับถือพระเจ้าองค์เดียว การเป็นมนุษย์ที่เจริญและคงไว้ซึ่งความ เที่ยงธรรม ความเป็นเอกภาพของอินโดนีเซีย ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและความยุติธรรมในสังคมชาวอินโดนีเซียทั้งมวล
          สถาบันทางการเมืองและการบริหารตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย 6 องค์กร คือ
          1) สภาที่ปรึกษาประชาชน (People Consultative Assembly – MPR) ประกอบด้วยสมาชิก 700 คน โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน (มาจากการเลือกตั้ง) ผู้แทนจาก ภูมิภาค 135 คน และผู้แทนจากองค์กรสังคมและกลุ่มอาชีพ 65 คน (มาจากการแต่งตั้ง) อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 5 ปี
          2) สภาผู้แทนราษฎร (House of People’s Representatives – DPR) ประกอบด้วย สมาชิก 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 462 คน ผู้แทนกองทัพที่มาจากการแต่งตั้ง 36 คน อยู่ใน ตำแหน่งครั้งละ 5 ปี
          3) ประธานาธิบดี เป็นประมุขสูงสุดด้านการบริหาร มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน คณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม โดยการเสนอชื่อของสภาที่ปรึกษา ประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
          4) สภาที่ปรึกษาสูงสุด (Supreme Advisory Council) เป็นองค์กรให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ประธานาธิบดี
          5) ศาลฎีกา (Supreme Court)
          6) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินสูงสุด (State Audit Board)ส่วนการปกครองท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 27 จังหวัด ในจำนวนดังกล่าวเป็นเขตพิเศษ 3 จังหวัด คือ เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา ดินแดนพิเศษอาเจห์ และดินแดนพิเศษย็อกยาการ์ตา

          อินโดนีเซียมีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและ หัวหน้าฝ่ายบริหารรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2488 ได้กำหนดให้ใช้หลักปัญจศีลเป็นหลักในการปกครองประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการนับถือพระเจ้าองค์เดียว การเป็นมนุษย์ที่เจริญและคงไว้ซึ่งความ เที่ยงธรรม ความเป็นเอกภาพของอินโดนีเซีย ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและความยุติธรรมในสังคมชาวอินโดนีเซียทั้งมวล
          สถาบันทางการเมืองและการบริหารตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย 6 องค์กร คือ
          1) สภาที่ปรึกษาประชาชน (People Consultative Assembly – MPR) ประกอบด้วยสมาชิก 700 คน โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน (มาจากการเลือกตั้ง) ผู้แทนจาก ภูมิภาค 135 คน และผู้แทนจากองค์กรสังคมและกลุ่มอาชีพ 65 คน (มาจากการแต่งตั้ง) อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 5 ปี
          2) สภาผู้แทนราษฎร (House of People’s Representatives – DPR) ประกอบด้วย สมาชิก 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 462 คน ผู้แทนกองทัพที่มาจากการแต่งตั้ง 36 คน อยู่ใน ตำแหน่งครั้งละ 5 ปี
          3) ประธานาธิบดี เป็นประมุขสูงสุดด้านการบริหาร มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน คณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม โดยการเสนอชื่อของสภาที่ปรึกษา ประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
          4) สภาที่ปรึกษาสูงสุด (Supreme Advisory Council) เป็นองค์กรให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ประธานาธิบดี
          5) ศาลฎีกา (Supreme Court)
          6) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินสูงสุด (State Audit Board)ส่วนการปกครองท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 27 จังหวัด ในจำนวนดังกล่าวเป็นเขตพิเศษ 3 จังหวัด คือ เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา ดินแดนพิเศษอาเจห์ และดินแดนพิเศษย็อกยาการ์ตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น